วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551

:: ชะมดแผงสันหางปล้อง

ชะมดแผงสันหางปล้อง
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Large Indian Civet
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Viverra zibetha
ลักษณะทั่วไป มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำพวกชะมดด้วยกัน สีพื้นของตัวค่อนข้างเป็นสีเทา หรือน้ำตาลปนเหลือง มีจุดดำอยู่ทั่วไป ที่ข้างคอมีแถบดำและขาวพาดผ่านเป็นแถบดำ 3 แถบ แถบขาว 2 แถบ จากไหล่ทั้งสองข้าง มีลายดำเป็นเส้นยาวไปถึงโคนหาง จากหัวถึงโคนหางมีขนสีดำตั้งขึ้น ที่หางมีลายเป็นปล้องสีขาวสลับดำ ปลายเท้าทั้งสี่มีสีน้ำตาลไหม้ ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในเนปาล อินเดีย พม่า ไทย จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบอยู่ทั่วทุกภาคโดยเฉพาะทางภาคใต้ กินไก่ นก หนู งู กบ เขียด ปลา ปู แมลง ไข่ของแมลง รวมทั้งผลไม้และหน่อพืชบางชนิด พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบ หรือทุ่งรก ๆ มักพบอยู่ตามพื้นดินมากกว่าอยู่บนต้นไม้ ขึ้นต้นไม้ไม่เก่ง ออกหากินตัวเดียว ออกหากินเวลากลางคืน กลางวันหลบนอนซ่อนตัวอยู่ตามที่รกทึบตามโพรงดินที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุม ชะมดแผงสันหางปล้องเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์สงขลา

ไม่มีความคิดเห็น: