วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551

ค่างเทา (ค่างหงอก)

ค่างเทา(ค่างหงอก)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Silvered Langur
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Presbytis cristatus
ลักษณะทั่วไป ขนส่วนด้านหลังของลำตัวมีสีเข้มเป็นสีเทาดำ แต่ปลายขนสีขาวจึงทำให้มองดูคล้ายสีเทาเหลือบเงิน ส่วนด้านหน้าของลำตัวคืออก ท้องและขาขนมีสีเทาอ่อน ที่หัวมีขนแหลมตรงกลางพุ่งขึ้น ขนด้านข้างของหน้ายาวพุ่งตรงออกด้านข้าง ใบหน้าและมือเท้าสีเทาดำ ไม่มีวงตาขาว ปากบาง ผิวหนังบางส่วนเช่นโคนขาด้านในด่างขาว ลูกค่างเกิดใหม่จะมีขนสีขาวที่หลังมือ,เท้า และตามร่างกาย น้ำหนักตัวประมาณ 6.8 กิโลกรัม ความยาวลำตัวประมาณ 493-570 มิลลิเมตร หางยาว 725-840 มิลลิเมตร ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในพม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ประเทศไทยมีตามป่าดงดิบทุกภาค อาหารได้แก่ ใบไม้และตาอ่อนของพืช แมลง พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ อาศัยในป่าทึบและป่าดงดิบทั่วไป ชอบอาศัยอยู่บนต้นไม้สูงๆ อาศัยอยู่เป็นฝูง ๆ ละ 10-40 ตัว ค่างเทาที่อายุมากแล้วมักแยกตัวไปอยู่โดดเดี่ยว ไม่รวมฝูงอยู่ด้วยกัน หากินตอนกลางวัน ส่วนใหญ่หากินบนต้นไม้ มีการใช้เสียงแตกต่างกันหลายระดับในการสื่อความหมาย แม้ว่าค่างเป็นสัตว์สังคมแต่ในฝูงจะมีการจัดลำดับชั้นทางสังคมกันน้อยมาก ค่างเทาเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 3-4 ปี ระยะตั้ง ท้องนาน 196 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

ไม่มีความคิดเห็น: