วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551

เหล้าสาเกญี่ปุ่น



Translation Thai - SlovakWelcome!
The multilanguage dictionary that performs translation between 34 languages. We have ambitious aims to build one of the largest and comprehensive dictionaries on the web. It is still under intensive development. We adding new features and improving existing algorithm. If you need any new feature, please don’t hesitate, let us now what you need and help us to improve this dictionary even better.
Below you can check possible translations. Select from menu your source language and application will show you all possible translations for that language.

แมวดาว

แมวดาว
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Leopard Cat
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Prionailurus bengalensis
ลักษณะทั่วไป รูปร่างคล้ายแมวขนาดใหญ่ มีสีน้ำตาลแกมเหลือง หูค่อนข้างยาว หลังหูสีดำมีจุดขาวตรงกลาง ตามตัวมีจุดสีน้ำตาลแกมดำเป็นจุดใหญ่อยู่ทั่วไป ถิ่นอาศัย, อาหาร มีถิ่นอาศัยอยู่ในสหภาพโซเวียต จีน ไต้หวัน อินโดจีน อินเดีย บังคลาเทศ พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเกาะพาลาวัน ในประเทศไทยพบอยู่ตามป่าทั่วทุกภาค แมวดาวกินนก หนู กระรอก กระแต จิ้งเหลน กิ้งก่า เป็ด ไก่ รวมทั้งงูด้วย พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ หากินเวลากลางคืนทั้งบนดินและต้นไม้ ชอบนอนในโพรง บางครั้งกระโจนจากต้นไม้เพื่อจับสัตว์กิน เป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำเก่ง แมวดาวเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 70 วัน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์

เมียร์แคท

เมียร์แคท
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Slender-tailed Meerkat(Suricate)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Suricata suricata
ลักษณะทั่วไป เมียร์แคทหนึ่งในสมาชิกสัตว์ป่าของทวีปแอฟริกา มีลักษณะ หัวสั้น หน้ากว้าง จะมีจมูกยื่นยาวเพื่อประโยชน์ในการดมกลิ่น รอบขอบตาเป็นวงแหวนสีดำ มีนิ้วเท้าสี่นิ้ว มีขนสีน้ำตาลทองสลับดำขวางลำตัว หางยาวและส่วนปลายมีสีดำ เป็นสัตว์ในตระกูลเดียวกับพังพอน และชะมด ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในประเทศแอฟริกาใต้ เมียร์แคทกินแมลงปีกแข็งและ หนอนผีเสื้อ รวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังเล็กๆ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ไม่ชอบอยู่กับที่ ชอบยืนชะเง้อคอ เพื่อตรวจดูและดมกลิ่นในบริเวณรอบๆ จะออกมารับแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาเช้าเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น จะอาศัยรวมอยู่กันเป็นกลุ่ม บางกลุ่มอาจมีถึง 30 ตัว บางครั้งอาจพบอาศัยอยู่กับพวกกระรอกและเมียร์แคทแดง สัตว์ชนิดนี้จะมีประสาทสัมผัส ที่ดี โดยเฉพาะเรื่องการรับฟังเสียงจะสามารถได้ยินเสียงในรัศมีถึง 160 ฟุต (50เมตร) และจะอพยพย้ายที่อยู่เมื่อมีภัย นอกจากนี้เมียร์แคทจะขุดรูหรือโพรงถ้ำลึกลงไปในดิน โพรงดินที่สร้างขึ้นสามารถเชื่อมต่อกัน ทำให้มีช่องทางเข้าออกมากขึ้นและช่วยให้มันมีทางหลบหนีเมื่อมีภัยอีกด้วย เมียร์แคทจะขยายพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 1 ปี จะออกลูกตามโพรง, ถ้ำ ช่วงฤดูผสมพันธุ์คือเดือน ตุลาคม-มีนาคม ระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 11 สัปดาห์ ออกลูกครั้งละ 2-5 ตัว สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์สงขลา

:: เม่นใหญ่แผงคอยาว

เม่นใหญ่แผงคอยาว
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Malayan Porcupine
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Hystrix brachyura
ลักษณะทั่วไป มีลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่าเม่นชนิดอื่น มีขนบนสันคอเป็นเส้นอ่อน ๆ ตั้งขึ้นดูคล้ายกับแผงคอ ขนตามลำตัวท่อนหน้ามีสีน้ำตาลไหม้เป็นขนค่อนข้างสั้น ส่วนขนตามลำตัวท่อนหลังเป็นขนยาวมีสีขาวและมีวงรอบขนสีดำอยู่กลางขน ถิ่นอาศัย, อาหาร พบใน ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ สุมาตรา บอร์เนียว พบในป่าทุกชนิด อาศัยตามโพรงดิน ซอกหินตามป่า เม่นใหญ่แผงคอยาวกินผัก หญ้า เผือก มัน หน่อไม้ เปลือกไม้บางชนิด ผลไม้ กระดูกสัตว์ และเขาสัตว์ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ สามารถปรับตัวให้อาศัยในหลากหลายสภาพแวดล้อม หากินเวลากลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบอยู่ในโพรงดิน เมื่อพบศัตรูจะแสดงอาการขู่ โดยกระทืบเท้า ตั้งขนขึ้นและสั่นหางทำให้เกิดเสียงดัง เม่นไม่สามารถสลัดขนไล่ศัตรูได้ แต่ขนเม่นหลุดง่าย เมื่อศัตรูถูกขนเม่นตำ ขนจึงหลุดติดไปกับศัตรู เม่นใหญ่แผงคอยาวเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 4 เดือน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา

:: เม่นหางพวง

เม่นหางพวง
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Brush-tailed Porcupine
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Atherurus macrourus
ลักษณะทั่วไป เป็นสัตว์ฟันแทะเช่นเดียวกับเม่นชนิดอื่น แต่ตัวเล็กกว่า ขนบริเวณหลังยาวมากและจะค่อย ๆ สั้นลง ส่วนท้ายของลำตัวขนมีลักษณะแบน และเป็นร่องยาวอยู่ทางด้านบน เม่นหางพวงไม่มีขนตลอดทั่วทั้งหาง แต่ที่โคนหางจะมีขนสั้น ช่วงกลางหางมีเป็นเกล็ดๆ และที่ปลายหางมีขนขึ้นหนาเป็นกระจุกดูคล้ายเป็นพวง ขนดังที่กล่าวมานี้จะแบนคล้ายกระดาษและแหลมแข็ง แต่ขนที่หัว ขาทั้งสี่และบริเวณใต้ท้องเป็นขนแหลมแต่ไม่แข็ง ขาสั้น หูกลมเล็ก เท้ามีเล็บตรงทู่แข็งแรง เหมาะสำหรับขุดคุ้ยดิน ถิ่นอาศัย, อาหาร เม่นหางพวง พบในประเทศจีนทางตอนใต้ เกาะไหหลำ อัสสัม พม่า ไทย อินโดจีน มาเลเซียและสุมาตรา สำหรับประเทศไทยพบทั่วไป แต่มีมากที่จังหวัดตรัง กินผัก หญ้า เผือก มัน หน่อไม้ ผลไม้ รากไม้บางชนิด กระดูกสัตว์ แมลง และเขาสัตว์ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ เม่นหางพวงพบตามป่าทั่วไป ชอบอาศัยอยู่ตามป่าใกล้น้ำ ลำธาร ลำห้วย ชอบ ขุดดินเป็นรูและเป็นโพรงชอนไปใต้ดินลึก ๆเป็นโพรงกว้าง 3–4 ฟุต ซึ่งพอสำหรับครอบครัว คือ พ่อ แม่ ลูก อยู่ได้อย่างสบาย บางครั้งขุดรูอยู่ใกล้ริมตลิ่ง ชอบออกหากินในเวลากลางคืนและไปด้วยกันหลายตัว ส่วนกลางวันมักนอนหลบซ่อนตัวในโพรงดิน หรือหลบซ่อนตัวตามรากโคนต้นไม้ใหญ่ หรือซอกหิน เม่นหางพวงวิ่งได้เร็วพอใช้ ขณะวิ่งชอบสบัดหางให้สั่นเพื่อให้เกิดเสียงขณะวิ่ง เพราะขนกระทบกันเอง เป็นการทำให้สัตว์อื่นตกใจกลัว เมื่อมีอายุ 2 ปีเม่นหางพวงจึงผสมพันธุ์ได้ ฤดูผสมพันธุ์ไม่แน่นอน ตั้งท้องนาน 4 เดือน ออกลูกครั้งละ 1–4 ตัว อายุยืนนาน 10 ปีเศษ สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

:: ม้าลาย

ม้าลาย
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Common Zebra(Burchell's Zebra)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Equus burchellii
ลักษณะทั่วไป พบทั่วไปในทวีปแอฟริกาแถบที่ราบโล่งทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า ถิ่นอาศัย, อาหาร พบทั่วไปในทวีปแอฟริกาแถบที่ราบโล่งทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า กินหญ้าและเมล็ดพืช พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอาศัยอยู่ตามที่ราบโล่งที่เป็นหญ้า ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ฝูงหนึ่งมีหลายร้อยตัวจนถึงเป็นพันก็มี โดยจะเล็มหญ้าหากินร่วมกับสัตว์อื่นในทุ่งกว้าง เช่น นกกระจอกเทศ ยีราฟ แอนตีโลป และสัตว์กีบชนิดอื่นๆ ม้าลายมักจะมีนกกินแมลงจับเกาะอยู่บนหลัง เพื่อช่วยระวังภัยและกินพวกแมลงที่มารบกวน และมีนกกระจอกเทศและยีราฟคอยช่วยเป็นป้อมยามคอยเตือนภัยและระวังภัยให้ เพราะม้าลายสายตาไม่ค่อยดี แต่จมูกและหูไวมาก ฟันคม ม้าลายเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 2 ปี ตั้งท้องนานประมาณ 345-390 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว มีอายุยืนประมาณ 25-30 ปี สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

:: มารา

มารา
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mara(Patagonian Cavy)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Dolichotis patagonum
ลักษณะทั่วไป มีใบหน้าและหูคล้ายกระต่าย แต่มีลำตัวคล้ายสุนัขหรือกวางขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 70 - 75 เซนติเมตร มีหางสั้นประมาณ 4 - 5 เซนติเมตร ลำตัวมีขนสีน้ำตาล ด้านท้องมีสีขาวปนน้ำตาลแดง มีขนบริเวณ ก้นสีขาว ขาคู่หลังเรียวยาวกว่าขาคู่หน้า เท้าหน้ามี4 นิ้ว เท้าหลังมี 3 นิ้ว และมีใบหูใหญ่ ถิ่นอาศัย, อาหาร พบแพร่กระจายบริเวณทุ่งหญ้าแพมพัสในตอนกลางและตอนใต้ของประเทศอาเจนตินา อาหารได้แก่หญ้า พืช เปลือกไม้ รากไม้ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ มาราตั้งท้องนาน 90 - 93 วัน น้ำหนักแรกเกิด 400 - 450 กรัม หย่านมเมื่ออายุ 2-3 เดือน วัยเจริญพันธุ์อายุ 1 - 5 ปี มีอายุยืน 10 - 15 ปี สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่

เพียงพอนเล็กสีน้ำตาล

เพียงพอนเล็กสีน้ำตาล
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Malaysian Weasel
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Mustela nudipes
ลักษณะทั่วไป ลักษณะและขนาดคล้ายพังพอนธรรมดา แต่มีขนสีแตกต่างกัน มีตั้งแต่สีขาวปนเทาจนถึงน้ำตาลแดง หัวและจมูกสีซีดกว่าลำตัว ปลายหางขาว ตัวเมียมีนม 4 เต้า ฝ่าเท้าไม่มีขน ถิ่นอาศัย, อาหาร เพียงพอนเล็กสีน้ำตาลมีถิ่นอาศัยในทางตอนใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย สุมาตรา บอร์เนียว กินพวกสัตว์เล็กๆ เช่น กบ หนู เขียด แมลง และเป็ด ไก่ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบหากินตามพื้นดินเวลากลางคืน และตามปกติแล้วไม่ขึ้นต้นไม้ เพียงพอนเล็กสีน้ำตาลออกลูกครั้งละ 1 – 4 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์สงขลา

:: พังพอนกินปู (พังพอนยักษ์)

พังพอนกินปู(พังพอนยักษ์)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Crab-eating Mongoose
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Herpestes urva
ลักษณะทั่วไป ตัวใหญ่กว่าพังพอนชนิดอื่น มีแถบขาวด้านข้างของลำคอทั้งสองด้านจากมุมปากถึงไหล่ หางค่อนข้างสั้น ขนหยาบ หลังสีเทาและดำ คางและแก้มขาว ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในพม่า อินโดจีน ไต้หวัน ไทย สำหรับประเทศไทยพบตามป่าชายเลน ทางภาคตะวันออกและตะวันตกเฉียงใต้ ชอบกินปู หอย และสัตว์เล็กๆอื่นๆเช่น ปลา กบ เขียด พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอยู่ตามป่ารกริมน้ำ ส่วนใหญ่หากินเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำเก่ง พังพอนยักษ์มีระยะตั้งท้องนาน 2 เดือน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต

พังพอนธรรมดา

พังพอนธรรมดา
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Javan Mongoose
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Herpestes javanicus
ลักษณะทั่วไป ตัวโตกว่ากระรอกเล็กน้อย ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียมาก ขนสีน้ำตาลแดง ปลายจมูกแหลม หูสั้นกว่าลำตัว เมื่อตกใจหรือจะต่อสู้ ขนตามลำตัวตั้งชันขึ้นมาได้ ถิ่นอาศัย, อาหาร มีถิ่นอาศัยอยู่ใน อิหร่าน อินเดีย อินโดจีน ไทย มาเลเซีย และชวา ชอบกินเนื้อสัตว์เล็กต่างโดยเฉพาะอย่างยิ่ง งู และหนู รวมทั้ง กบ เขียด ปู เป็ด ไก่ นก แมลง และผลไม้ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ เป็นสัตว์หากินทั้งกลางวันและกลางคืน นอนในโพรงดิน ไม่ชอบไต่ขึ้นต้นไม้ ชอบป่าหญ้าหรือตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบ เป็นสัตว์ที่ว่องไวมาก พังพอนเริ่มผสมพันธุ์ ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 6 สัปดาห์ ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว มีอายุยืนประมาณ 12 ปี สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

:: พญากระรอกดำ(ใหญ่)

หมูหินชิมเอง
หมูหินคลิปวีดีโอ
รีสอร์ทรีวิว
เว็บแคม
ชลบุรี
ระยอง
จันทบุรี
ตราด
แม่ฮ่องสอน
เชียงใหม่
เชียงราย
พะเยา
น่าน
ลำปาง
ลำพูน
กำแพงเพชร
พิษณุโลก
สุโขทัย
เพชรบูรณ์
ตาก
พิจิตร
อุตรดิตถ์
แพร่
อุทัยธานี
นครสวรรค์
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชัยนาท
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบคีรีขันธ์
ปราจีนบุรี
อยุธยา
เพชรบุรี
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรสาคร
สมุทรสงคราม
สมุทรปราการ
สระบุรี
สิงห์บุรี
อ่างทอง
สุพรรณบุรี
สระแก้ว
กาฬสินธุ
ชัยภูมิ
ขอนแก่น
นครราชสีมา
นครพนม
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
ศรีสะเกษ
สกลนคร
สุรินทร์
หนองคาย
อุดรธานี
หนองบัวลำภู
อุบลราชธานี
มุกดาหาร
อำนาจเจริญ
ชุมพร
ระนอง
สุราษฏร์ธานี
พังงา
ภูเก็ต
กระบี่
นครศรีธรรมราช
สตูล
ตรัง
พัทลุง
สงขลา
ปัตตานี
นราธิวาส
ยะลา

ประเทศทั่วโลก

ทัวร์มาเก๊า

ทัวร์ฮ่องกง

ทัวร์สิงคโปร์

ทัวร์เกาหลี
ทัวร์ลาว
ทัวร์กัมพูชา
พม่า

");
//-->

อย่าคลิกเล่น 18 Up !!!
สถานที่ท่องเที่ยว
เกาะเสม็ด
แผนที่ประเทศไทย
เกาะช้าง
กระบี่ พีพี ลันตา
เกาะเต่า-นางยวน
เกาะเต่า-นางยวน
หมู่เกาะสิมิลัน
ททท.
หัวหิน
พัทยา
เกาะมุกและถ้ำมรกต
อ่าวพังงา
หมู่เกาะอ่างทอง
เกาะกูด
เกาะเสม็ด
เกาะกระดาด
ชะอำ
ดอยแม่สลอง
เกาะกูด
เกาะล้าน
เกาะตะรุเตา
เกาะหลีเป๊ะ
เกาะล้าน
เกาะสมุย
http://www.moohin.com > สัตว์ป่าของไทย > พญากระรอกดำ
พญากระรอกดำ(ใหญ่)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Black Giant Squirrel
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Ratufa bicolor
ลักษณะทั่วไป เป็นกระรอกขนาดใหญ่ ขนด้านบนของลำตัวมีสีน้ำตาลไหม้ ด้านล่างถึงท้องมีสีอ่อนเป็นสีครีมหรือ สีส้ม หางเป็นพวงยาวใหญ่สีดำ มีหนวดสีดำยาวเห็นได้ชัด เล็บเท้าโค้งแหลมคมมาก ตัวเมียมีเต้านม 3 คู่ ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในเนปาล อัสสัม พม่า จีนตอนใต้ เกาะไหหลำ อินโดจีน มาเลเซีย สุมาตรา ชวา และบาหลี ประเทศไทยมีมากทางภาคใต้ แถวจังหวัดตรัง เกาะภูเก็ต สมุย เกาะพงัน กาญจนบุรี และจันทบุรี ทางภาคใต้เรียก "พะแมว" เป็นสัตว์กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และกินแมลง ไข่นก พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ พบเห็นได้ยาก เป็นสัตว์อยู่ในป่าดงดิบ อยู่บนต้นไม้สูง ชอบร้องทักเมื่อเห็นคนหรือสัตว์อื่น หากินตัวเดียว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์จึงจะอยู่เป็นคู่ พญากระรอกดำผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 2 ปี ตั้งท้องนาน 28 วัน ออกลูกครั้งละ 1-2 ตัว ทำรังด้วยกิ่งไม้ ใบไม้แห้งตามยอดไม้สูง ๆ มันจะนอนในรังเสมอไม่ว่าจะมีหรือไม่มีลูกอ่อนก็ตาม มักทำรังไว้หลายแห่ง ส่วนจะอาศัยอยู่ในรังไหนก็แล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์ของอาหารในบริเวณนั้น จะเลือกอาศัยอยู่ในรังซึ่งบริเวณนั้นหาอาหาร ได้ง่าย อายุยืน 10 กว่าปี สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์นครราชสีมา

:: แบลคบัค

แบลคบัค
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Blackbuck
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Antilope cervicapra
ลักษณะทั่วไป เป็นแอนติโลปแท้จำพวกหนึ่ง รูปร่างคล้ายกับกาเซลล์ ตัวผู้ที่มีอายุน้อยและตัวเมียมีสีน้ำตาลอ่อน พื้นท้องและใบหน้าสีขาว ส่วนตัวผู้ที่อายุมากมีสีดำหรือสีน้ำตาลเทาแก่ ๆ มีวงขาวรอบตาเห็นได้ชัดเจน มีสีขาวแซมตรงปลายจมูกรอบ ๆ ตา ด้านในของขาและพื้นท้องลำตัวมีสีขาว มีเขาเฉพาะตัวผู้ เขาเป็นเกลียวยาว ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในอินเดียแถบแคว้นปัญจาบ บังคลาเทศ และทางภาคใต้ของอินเดียแถบแหลมโคโมริน ปัจจุบันถูกนำไปเลี้ยงตามสวนสัตว์ต่าง ๆ อย่างแพร่หลายกว่าแอนติโลปชนิดอื่น กินหญ้าเป็นอาหาร พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ 6 – 10 ตัว หรือมากกว่านี้ ชอบอยู่ตามทุ่งหญ้าโล่ง โดยเฉพาะตามพงหญ้าสูง ๆ ไม่ชอบอยู่ตามเชิงเขาหรือในป่า ในฝูงหนึ่งจะมีตัวผู้โตเต็มที่มีสีดำหนึ่งตัว นอกนั้นเป็นตัวเมีย 6 – 8 ตัว พร้อมลูกน้อยของมัน และตัวผู้อายุน้อยอีก 2 – 3 ตัว ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะต่อสู้กัน อย่างดุร้ายเพื่อแย่งตัวเมีย ต่อมกลิ่นหน้าลูกตาปกติใช้ถูไถกับกิ่งไม้ข้างทาง โดยทิ้งกลิ่นติดไม้ไว้เป็นเครื่องหมายกันหลงทาง ขณะผสมพันธุ์หรือเวลาตื่นเต้น ต่อมกลิ่นดังกล่าวจะขับสารออกมามาก แบลคบัคเป็นสัตว์มีฝีเท้าเร็วมาก กระโดดข้ามรั้วสูงได้ เวลาตกใจสามารถกระโดดสูงขึ้นไปกลางอากาศได้ ตาไวมากสามารถมองเห็นศัตรูได้รวดเร็ว เวลามีอันตรายลูกเล็ก ๆ จะซ่อนตัวอยู่ในพงหญ้า แบลคบัคเป็นสัตว์ปราดเปรียวมาก ตื่นตกใจง่าย เลี้ยงให้เชื่องได้ยาก แบลคบัคผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 1 ปีเต็ม ตั้งท้องนาน 6 เดือน ปกติออกลูกตัวเดียว มีอายุยืนประมาณ 15 ปี สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์นครราชสีมา

:: ไนอาลา

ไนอาลา
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Nyala
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Tragelaphus angasi
ลักษณะทั่วไป เป็นแอนติโลพขนาดค่อนข้างใหญ่ ตัวผู้สีพื้นลำตัวจะเป็นสีเทา และมีแถบสีขาวข้างลำตัว 3-14 แถบ ส่วนขาด้านล่างจะเป็นสีน้ำตาลเหลือง ตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าและไม่มีเขา สีของลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลเหลือง น้ำหนัก ตัวเมียราว 62 กิโลกรัม ส่วนของตัวผู้ราว108 กิโลกรัม ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในป่าโปร่ง ทุ่งหญ้าสะวันนาบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำในทวีปแอฟริกา กินใบไม้เป็นหลักร่วมทั้งหญ้าในช่วงที่มีฝนตก พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ จะเห็นเป็นกลุ่มขนาดเล็ก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกกลุ่ม ไนอาลาตัวแม่และลูกจะเป็นตัวหลักในกลุ่ม ตัวผู้ส่วนใหญ่จะอยู่โดดเดี่ยว ไนอาลามีระยะการตั้งท้อง 220 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

เนื้อทราย (ตามะแน)

เนื้อทราย(ตามะแน)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Hog Deer
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Cervus porcinus
ลักษณะทั่วไป เป็นกวางขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 140-150 เซนติเมตร ขนสีน้ำตาลเข้ม ด้านล่างลำตัวสีจางกว่า มีเขาเฉพาะในตัวผู้ข้างละ 3 กิ่ง ผลัดเขาทุกปี ลูกเกิดใหม่มีลายจุดขาวตามตัวลายจะหายไปเมื่อโตขึ้น นัยน์ตามีน้ำตาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เป็นกวางที่สวยงามมากชนิดหนึ่ง ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในอินเดีย เนปาล พม่า ศรีลังกา ไทย ลาวกัมพูชา เวียดนาม ในไทยพบมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่พบทางภาคใต้ กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ มักพบหากินเป็นฝูงตามป่าโปร่งหรือป่าทุ่งหญ้าที่ราบลุ่มริมฝั่งน้ำ ปกติออกหากินในตอนเย็นถึงเช้าตรู่ เป็นสัตว์ที่ระวังภัย ตื่นตัวตลอดเวลา ตัวผู้มักต่อสู้กันอย่างดุร้ายในฤดูผสมพันธุ์ เนื้อทรายเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

:: นากเล็กเล็บสั้น

นากเล็กเล็บสั้น
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Oriental Small-clawed Otter
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Aonyx cinerea
ลักษณะทั่วไป มีขนาดเล็ก ลำตัวอ้วนสั้น แข็งแรง ลำตัวตอนบนสีน้ำตาลเทา ตอนล่างลำตัวสีอ่อนกว่า ใต้คางและคอด้านล่างสีขาวนวล มีเล็บสั้นทื่อโค้งไม่ยื่นออกมาพ้นปลายนิ้ว เยื่อระหว่างนิ้วเท้ามีเล็กน้อย หางแข็ง หูเล็ก ขนสั้นเรียบเป็นมัน ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในจีน พม่า อัสสัม เนปาล สิกขิม อินเดีย ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย บอร์เนียว สุมาตรา ชวา ฟิลิปปินส์ อาหารของนากนอกจากปลาแล้วยังกินหอย ปู บางครั้งนากจะขึ้นบกเพื่อหาสัตว์เล็ก ๆ และแมลงกิน พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบหากินอยู่ในน้ำ ว่ายน้ำเก่ง ชอบอาศัยอยู่ตามห้วย ลำธาร ในป่าตามบึง หนอง เมื่อว่ายน้ำจะใช้หางโบกขึ้นลงทำให้ตัวเคลื่อนไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว ชอบอยู่รวมเป็นกลุ่ม แต่ในฤดูผสมพันธุ์จะอยู่เป็นคู่ นากจะผสมพันธุ์ในน้ำ และออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่

:: ตัวกินมด

ตัวกินมด
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Lesser Anteater(Southern tamandua)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Tamandua tetradactyla
ลักษณะทั่วไป ขนสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม หูยาวกว่า Northern tamadua และกระโหลกกว้างกว่า สามารถเคลื่อนที่บนพื้นได้ดีพอ ๆ กับการปีนต้นไม้ หางของมันจะโค้งจับกิ่งไม้ได้เหมือนเป็นมือที่ 5 ขาหน้าจะมีนิ้วที่มีเล็บยาวประมาณ 2 นิ้วและนิ้วอื่น ๆ จะเล็กกว่า ขาหลังมี 4 นิ้ว และมีเล็บที่แข็งแรงมาก ใช้คุ้ยเขี่ยเศษใบไม้ตามพื้นหาอาหารกิน ถิ่นอาศัย, อาหาร พบได้หลายบริเวณ เช่นที่ราบป่าดิบชื้นจนถึงที่ราบสูงป่าดิบชื้น ป่าผลัดใบ ทุ่งหญ้า ป่าหนามสะวันนา ในอเมริกาใต้ พบบริเวณเทือกเขาแอนดิสทางตอนใต้ อาหารได้แก่ มด ปลวกและแมลงเล็ก ๆ หรือผลไม้ผลเล็ก ๆ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ มีความสามารถในการดมกลิ่นที่ดี มีประสาทหูไว และปรับตัวเก่ง ตัวเมียตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกจะเกาะหลังแม่ 3 เดือน ลูกจะอยู่ใกล้ชิดแม่เพื่อเรียนรู้และหาอาหาร 10-12 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะออกหากินเอง กินน้ำจากใบไม้ เมื่อใกล้ผสมพันธุ์ตัวผู้จะดมและเลียปากตัวเมีย ขณะผสมพันธุ์มันจะกอดตัวเมียและกดตัวเมียลงที่ท้องของมัน ตัวเมียจะเป็นสัดทุก 4 สัปดาห์ สังเกตได้จากมันจะเฉื่อยชากว่าปกติ, นอนมาก และไม่อยากจะทำอะไร สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

:: ช้างแอฟริกา

ช้างแอฟริกา
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
African Elephant
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Loxodonta africana
ลักษณะทั่วไป เป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีลักษณะคล้ายช้างเอเชียจะแตกต่างที่ใบหู ช้างแอฟริกาจะมีใบหูที่ใหญ่มากมีรูปร่างคล้ายพัดทำหน้าที่ช่วยโบกพัดเพื่อระบายความร้อน ผิวหนังมีลักษณะหยาบย่นเป็นรอยอย่างเห็นได้ชัดเจน สีผิวของมันจะไม่เป็นสีดำเหมือนช้างเอเชีย แต่มีสีน้ำตาล เนื่องจากว่าช้างแอฟริกาชอบนอนแช่ปลักโคลน เพราะฉะนั้น สีผิวของมันจึงเปลี่ยนเป็นสีเทา และที่แปลกกว่าช้างเอเชียคือ ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะมีงาเหมือนกัน ส่วนช้างเอเชียจะมีงาเฉพาะตัวผู้เท่านั้น ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในทวีปแอฟริกา ช้างแอฟริกาจะออกหาอาหารทั้งกลางวันและกลางคืน จะใช้เวลาออกหาอาหารและแหล่งน้ำวันละประมาณ 18 - 20 ชั่วโมง อาหารที่ชอบจะเป็นพวกใบไม้สดหรือแห้ง เปลือกไม้ ผลไม้ โดยมีปริมาณในวันหนึ่ง ๆ ถึง 100 - 120 กิโลกรัม กินน้ำประมาณ 80 - 150 ลิตรต่อวัน ซึ่งเมื่อเทียบกับช้างเอเชียแล้ว ช้างแอฟริกาจะกินน้อยกว่า พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ช้างแอฟริกาพร้อมที่จะผสมพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 5-18 ปี ส่วนใหญ่จะผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาว ระยะเวลาตั้งท้องนาน 22-24 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกที่เกิดใหม่ ๆ จะมีขนตามตัวยาวมาก แม่จะเลี้ยงลูกไปจนกว่าลูกอายุประมาณ 2-3 ปี ในช่วงนี้ ลูกจะกินนมแม่ไปเรื่อย ๆ พออายุประมาณ 2-3 ปี ลูกช้างจึงจะไปหากินตามลำพัง สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์นครราชสีมา

:: ช้างเอเซีย

ช้างเอเซีย
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Asian Elephant
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Elephas maximus
ลักษณะทั่วไป ตัวผู้มีงาเรียกว่า "ช้างพลาย" แต่บางตัวไม่มีงาเรียก "ช้างสีดอ" ตัวเมียปกติไม่มีงาเรียก "ช้างพัง" แต่บางตัวอาจมีงาสั้น ๆ เรียกว่า "ขนาย" หนังบริเวณลำตัวหนาราว 1.9-3.2 เซนติเมตร เป็นสัตว์กระเพาะเดียว มีฟัน 26 ซี่ งาคือฟันตัดที่เปลี่ยนแปลงไป จมูกเป็นงวงยาว หลังโก่งโค้งเป็นรูปโดมตลอดแนวหลัง เท้าหน้ามีเล็บ 5 เล็บ เท้าหลังมี 4 เล็บ ปลายงวงมีติ่ง น้ำหนักประมาณ 3-4 ตัน ถิ่นอาศัย, อาหาร ช้างเอเชียพบในเนปาล บังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย สุมาตรา ได้แก่ หญ้า ใบไม้ หน่อไม้อ่อน ชอบกินต้นไผ่อ่อนและใบไผ่มาก ในหน้าแล้งชอบกินใบตองและหยวกกล้วยเป็นพิเศษ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอยู่รวมกันเป็นโขลง แต่ละโขลงจะมีตัวเมียเป็นจ่าโขลง ส่วนใหญ่ช้างออกหากินในเวลากลางคืน โดยจ่าโขลงจะเป็นผู้นำโขลงในการออกหากิน หาแหล่งน้ำหรือนำโขลงหนีศัตรู ช้างเป็นสัตว์ที่กินอาหารจุมาก ในขณะที่ช้างยังตื่นอยู่จะกินอาหารเกือบตลอดเวลา ช้างทั้งโขลงมีนิสัยชอบทำอะไรพร้อมๆกัน คือเมื่อถึงเวลาออกหาอาหารก็จะออกหาอาหารพร้อมๆกัน เมื่อจะหยุดก็จะหยุดพร้อมๆกัน ช้างจะยืนนอน แต่มีบ้างเหมือนกันที่นอนตะแคงหลับ ช้างเอเชียผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุได้ 8 -12 ปี ตั้งท้องนาน 19 -21 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว อายุยืนประมาณ 70 ปี สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์สงขลา

:: ชะมดแผงสันหางปล้อง

ชะมดแผงสันหางปล้อง
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Large Indian Civet
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Viverra zibetha
ลักษณะทั่วไป มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำพวกชะมดด้วยกัน สีพื้นของตัวค่อนข้างเป็นสีเทา หรือน้ำตาลปนเหลือง มีจุดดำอยู่ทั่วไป ที่ข้างคอมีแถบดำและขาวพาดผ่านเป็นแถบดำ 3 แถบ แถบขาว 2 แถบ จากไหล่ทั้งสองข้าง มีลายดำเป็นเส้นยาวไปถึงโคนหาง จากหัวถึงโคนหางมีขนสีดำตั้งขึ้น ที่หางมีลายเป็นปล้องสีขาวสลับดำ ปลายเท้าทั้งสี่มีสีน้ำตาลไหม้ ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในเนปาล อินเดีย พม่า ไทย จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบอยู่ทั่วทุกภาคโดยเฉพาะทางภาคใต้ กินไก่ นก หนู งู กบ เขียด ปลา ปู แมลง ไข่ของแมลง รวมทั้งผลไม้และหน่อพืชบางชนิด พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบ หรือทุ่งรก ๆ มักพบอยู่ตามพื้นดินมากกว่าอยู่บนต้นไม้ ขึ้นต้นไม้ไม่เก่ง ออกหากินตัวเดียว ออกหากินเวลากลางคืน กลางวันหลบนอนซ่อนตัวอยู่ตามที่รกทึบตามโพรงดินที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุม ชะมดแผงสันหางปล้องเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์สงขลา

ชะมดแผงสันหางดำ

ชะมดแผงสันหางดำ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Large-spotted Civet
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Viverra megaspila
ลักษณะทั่วไป มีขนาดใหญ่ สีพื้นบนตัวมีสีเนื้อปนเทา มีจุดดำขนาดใหญ่ที่ข้างลำตัว สีข้างและโคนขา ขาทั้ง 4 ดำ มีขนเป็นสันสีดำจากคอถึงหาง หางสั้นปลายหางดำตลอด ตั้งแต่กลางหางถึงโคนหางมีปล้องสีดำ 4 - 5 ปล้อง หน้าค่อนข้างยาว เท้าสีน้ำตาลแก่ ขายาว ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในอินเดีย พม่า อินโดจีน มาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค กินสัตว์เล็กๆเป็นอาหาร เช่น หนู กระต่าย กระรอก ไก่ รวมทั้งผลไม้และหน่อพืชบางชนิด พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ เป็นสัตว์หากินกลางคืนและหากินตามลำพัง ชอบอาศัยอยู่ในป่ารกทึบ ชะมดแผงสันหางดำเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 1 1/2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 45 วัน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

:: ชะมดแปลงลายแถบ (อีเห็นลายเมฆ)

ชะมดแปลงลายแถบ(อีเห็นลายเมฆ)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Banded Linsang
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Prionodon linsang
ลักษณะทั่วไป ลำตัวเพรียว หางยาว แต่ขาสั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อเดินไต่อยู่ตามกิ่งไม้จึงดูคล้ายงูมากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชะมดแปลงลายแถบต่างกับชะมดแปลงลายจุดตรงที่จุดบนหลังติดกันกลายเป็นแถบคดเคี้ยวขวางหลังของสัตว์ มีอยู่ทั้งหมด 5 แถบ และตามด้านข้างของคอและลำตัว จุดจะติดกัน กลายเป็นแถบคดเคี้ยวมีอยู่ด้านละ 2 แถบ สีพื้นของตัวเป็นสีน้ำตาลแกมเหลืองซีด ๆ หางมีปล้องสีขาวสลับดำอยู่ 7 ปล้อง ไม่มีขนแผงคอหรือแผงหลังและไม่มีต่อมกลิ่น อุ้งเล็บมีปลอกหุ้ม สามารถเอาเล็บออกมาใช้ได้ทันทีเหมือนกับแมวหรือเสือ ถิ่นอาศัย, อาหาร ชะมดแปลงลายแถบพบในป่าตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี ทางภาคใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย สุมาตรา ชวาและบอร์เนียว เป็นสัตว์หายาก เป็นสัตว์กิน นก หนูที่อยู่ตามต้นไม้ งู และสัตว์เล็กอื่น ๆ นอกจากนี้ยังกินแมลงที่ตัวโตๆ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชะมดแปลงลายแถบเป็นสัตว์หากินกลางคืน อาศัยอยู่ในป่าที่ค่อนข้างรกทึบ ส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ บางครั้งอาจลงมาบนพื้นดินบ้างเพื่อหาอาหาร ชะมดแปลงลายแถบผสมพันธุ์ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม มีผู้พบว่าชะมดแปลงแถบสร้างรังออกลูกด้วยเรียวไม้และใบไม้อยู่ในโพรงดินโคนต้นไม้ใหญ่ ออกลูกครั้งละ 2–3 ตัว มีอายุยืนเกือบ 10 ปี สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์นครราชสีมา

ชะมดแปลงลายจุด

ชะมดแปลงลายจุด
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Spotted Linsang
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Prionodon pardicolor
ลักษณะทั่วไป ชะมดชนิดนี้คล้ายกับชะมดแปลงลายแถบหรืออีเห็นลายเมฆ ต่างกันตรงที่ว่าจุดต่าง ๆ ตามลำตัวแยกจากกันด้วยสีอ่อน ๆ ไม่รวมติดกันเป็นแถบเรียงไปตามหลังของสัตว์ หางเป็นปล้องสีขาวสลับดำเหมือนกัน แต่มี 9 ปล้อง ไม่ใช่ 7 ปล้อง เหมือนอย่างชะมดแปลงลายแถบหรืออีเห็นลายเมฆ สีพื้นเป็นสีเหลือง มีจุดดำ ๆ ทั่วทั้งตัว ยกเว้นที่ท้อง เป็นสัตว์หายากมาก แต่ไม่สวยเท่าชะมดแปลงลายแถบ ถิ่นอาศัย, อาหาร ชะมดแปลงลายจุดมีถิ่นกำเนิดในเนปาล อัสสัม สิกขิม พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม สำหรับประเทศไทยมีทางภาคเหนือและแถบเทือกเขาตะนาวศรี กาญจนบุรี แต่ปัจจุบันเป็นสัตว์ที่หาพบได้ยาก กินนก ไข่นก สัตว์เล็ก ๆ เช่น หนู กระรอก เป็นสัตว์ไม่กินผลไม้ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชะมดแปลงลายจุดชอบอยู่ในป่าสูงหรือบนเขา ส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ แต่ตามพื้นดินก็ลงมาเหมือนกัน ออกหากินเวลากลางคืน มักอาศัยอยู่ตามลำพัง ฤดูผสมพันธุ์อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม ออกลูกครั้งละ 2 ตัว ตามโพรงดินโคนต้นไม้ใหญ่ สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์นครราชสีมา

ชะมดเช็ด

ชะมดเช็ด
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Small Indian Civet
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Viverricula malaccensis
ลักษณะทั่วไป ชะมดเช็ดมีขนาดเล็กกว่าชะมด หรืออีเห็นชนิดอื่น ขนสีน้ำตาลจาง มีลายสีดำอยู่บนหลัง 5 ลาย ลายยาวจากคอถึงโคนหาง ข้างตัวมีลายเป็นจุดสีดำเรียงเป็นแนววิ่งไปตามความยาวของลำตัว หางเป็นปล้องสีขาวสลับดำ 6 - 9 ปล้อง ส่วนปลายหางเป็นสีขาวเสมอ ไม่มีขนแผงหรือขนตั้งชันที่คอหรือหลังเหมือนอย่างชะมดแผง หน้าผากแคบเหมือนหน้าหนู ขาค่อนข้างสั้น ถิ่นอาศัย, อาหาร อินเดีย ศรีลังกา จีนตอนใต้ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนิเซีย ชะมดเช็ดกินสัตว์เล็กๆเป็นอาหารเช่น ไก่ นก หนู งู จิ้งเหลน กิ้งก่า ตลอดจนผลไม้ต่างๆและรากไม้บางชนิด พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ อาศัยตามป่ารกทั่วไป แต่ไม่ขึ้นต้นไม้เหมือนพวกชะมดชนิดอื่น วิ่งได้เร็วมาก หากินบนพื้นดิน เป็นสัตว์หากินกลางคืนเหมือนชะมดทั่วไป กลางวันนอนตามใต้พุ่มไม้เตี้ย ๆ หรือตามกอหญ้าสูง ๆ บางครั้งอาจพบอยู่ตามต้นไม้ ชะมดเช็ดมีต่อมใกล้ทวารหนัก ซึ่งขับของเหลวมีกลิ่นฉุน โดยธรรมชาติสัตว์จะเช็ดของเหลวนี้กับตอไม้หรือกิ่งไม้ จึงเรียกชื่อสัตว์ชนิดนี้ว่า “ชะมดเช็ด” ของเหลวดังกล่าวนี้ใช้ทำยาและน้ำหอมได้ ต่อมกลิ่นที่ก้นชะมดเช็ดมีอยู่ทั้งในตัวผู้และ ตัวเมีย แต่ของตัวเมียเล็กกว่า บางครั้งเรียกว่า Musk Civet ชะมดเช็ดผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 2 ปี ไม่มีฤดูผสมพันธุ์ ตั้งท้องประมาณ 2 เดือน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว จะออกลูกในโพรงดินซึ่งอยู่ใกล้ต้นไม้หรือตอไม้ ตัวเมียจะเลี้ยงลูก ส่วนตัวผู้จะอยู่กับตัวเมียเฉพาะตอนผสมพันธุ์เท่านั้น ชะมดเช็ดมีอายุยืนเกือบ 10 ปี สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่

:: ชะนีมงกุฎ (ชะนีหัวมงกุฎ)

ชะนีมงกุฎ(ชะนีหัวมงกุฎ)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Pileated Gibbon
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Hylobates pileatus
ลักษณะทั่วไป ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีขาวนวล เมื่อเกิดใหม่สีขาวนวลเหมือนกัน พออายุ 4-6 เดือน ขนที่หน้าอกจะเปลี่ยนสีเป็นสีดำเกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมลงที่ท้อง และบนหัวขนเปลี่ยนเป็นสีดำ เกิดขึ้นตรงกลางหัวเป็นรูปทรงกลม พออายุประมาณ 3-4 ปี ตัวผู้ขนจะเปลี่ยนเป็นสีดำทั่วตัว ยกเว้นคิ้ว ถุงอัณฑะ หลังมือหลังเท้าและวงรอบใบหน้า ซึ่งขนจะเป็นสีขาวดังเดิม รอบ ๆ จุดดำบนหัวจะมีขนสีขาวยาวเป็นลอนแซมขึ้นมาเห็นเด่นชัด ส่วนตัวเมียขนทั่วตัวไม่เปลี่ยนสีดำ สีขนจะคงเดิม ที่หน้าอกและบนหัวจะมีสีดำ มองดูที่หน้าอกคล้ายผูกเอี๊ยมดำและ บนหัวดูคล้ายเป็นมงกุฎสีดำ ขนรอบจุดดำบนหัวเป็นลอนยาวสีขาวเช่นเดียวกับตัวผู้ ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในประเทศลาวและกัมพูชาทางด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำโขง สำหรับประเทศไทย พบทางทิศตะวันออก เช่น จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ตราด และพบที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ด้วย กินผลไม้ ยอดไม้ ไข่นก และแมลงต่างๆ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ มีพฤติกรรมและการสืบพันธุ์เหมือนชะนีทั่วไป แต่มีนิสัยดุร้ายเมื่อโตเต็มที่แล้ว เมื่อมีอายุ 7-8 ปีจึงผสมพันธุ์ได้ ตั้งท้องนานประมาณ 240 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

:: ชะนีมือดำ

ชะนีมือดำ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Agile Gibbon
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Halobates agilis
ลักษณะทั่วไป ชะนีมือดำมีรูปร่างสีสันคล้ายชะนีมือขาวมาก ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะไม่มีการเปลี่ยนสี เช่นถ้าเกิดมามีสีดำก็จะมีสีดำไปตลอด ทั้งสองเพศอาจมีสีขาวหรือสีดำก็ได้ ชะนีมือดำไม่มีวงขาวรอบใบหน้า แต่บางตัวก็อาจมีเป็นรอยขาวจางๆ และที่คิ้วเป็นสีขาว ถิ่นอาศัย, อาหาร พบทางภาคใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย สุมาตรา และบอร์เนียว กินผลไม้ ยอดไม้ ไข่นก และแมลงต่าง ๆ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบห้อยโหนไปตามกิ่งไม้ ใช้ชีวิตเกือบทั้งวันอยู่บนต้นไม้สูง เวลากินน้ำใช้หลังนิ้วแตะน้ำและยกดูด ชอบร้องและผึ่งแดดเวลาเช้าตรู่บนกิ่งไม้ เวลาอากาศร้อนจัดจะลงมาจากต้นไม้สูงเพื่อหลบแดด เวลาตกใจจะเหวี่ยงตัวโหนไปตามกิ่งไม้อย่างรวดเร็ว เหยี่ยวและงูเหลือมเป็นศัตรูสำคัญของชะนี ชะนีผสมพันธุ์ตอนอายุ 7-8 ปี ตั้งท้องประมาณ 8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกชะนีจะหย่านมเมื่ออายุ 4-7 เดือน จนอายุ 2 ปีจะแยกไปหากินเอง ชะนีอาจมีอายุยืนถึง 30 ปี สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์สงขลา

ชะนีมือขาว (ชะนีธรรมดา)

ชะนีมือขาว (ชะนีธรรมดา)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Lar Gibbon(White-handed Gibbon)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Hylobates lar
ลักษณะทั่วไป ชะนีมือขาวมีทั้งสีดำและสีขาว ส่วนหลังมือและหลังเท้าเป็นสีขาวและมีวงขาวรอบใบหน้า ใบหน้าและหูดำ มือยาว รูปร่างเพรียว ไม่มีหาง บางคนเรียกว่า “ชะนีปักษ์ใต้” ซึ่งความจริงแล้วก็คือชะนีมือขาวนั่นเอง ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในพม่าแถบเทือกเขาตะนาวศรี ไทย ลาวและทางด้านตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำโขงในลาว ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนาน มาเลเซีย และทางด้านทิศเหนือของเกาะสุมาตราสำหรับประเทศไทยพบได้ทั่วไปยกเว้นจังหวัดจันทบุรี กินผลไม้ ยอดไม้ ไข่นก และแมลงต่าง ๆ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบห้อยโหนไปตามกิ่งไม้ ใช้ชีวิตเกือบทั้งวันอยู่บนต้นไม้สูง เวลากินน้ำใช้หลังนิ้วแตะน้ำและยกดูด ชอบร้องและผึ่งแดดเวลาเช้าตรู่บนกิ่งไม้ เวลาอากาศร้อนจัดจะลงมาจากต้นไม้สูงเพื่อหลบแดด เวลาตกใจจะเหวี่ยงตัวโหนไปตามกิ่งไม้อย่างรวดเร็ว เหยี่ยวและงูเหลือมเป็นศัตรูสำคัญของชะนี ชะนีผสมพันธุ์ตอนอายุ 7-8 ปี ตั้งท้องประมาณ 8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกชะนีจะหย่านมเมื่ออายุ 4-7 เดือน จนอายุ 2 ปีจะแยกไปหากินเอง ชะนีอาจมีอายุยืนถึง 30 ปี สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

:: ชะนีแก้มขาว

ชะนีแก้มขาว
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Black Gibbon(White-Cheeked Gibbon)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Hylobates concolor
ลักษณะทั่วไป ชะนีแก้มขาวมี 3 ชนิด คือ 1) H.c. concolor ชนิดนี้พบในเกาะไหหลำ ตัวผู้สีดำหมดทั้งตัว บริเวณใบหน้ามีขนสีขาวขึ้นแซมรอบดวงตา จมูกและปาก ส่วนตัวเมียสีนวลและมีสีดำอยู่กลางกระหม่อม 2) H.c. leucogenys ชนิดนี้อยู่ในประเทศลาวและเวียดนามเหนือ ตัวผู้มีสีดำ แต่ข้างแก้มมีสีขาว ส่วนตัวเมียมีสีทองหรือสีครีม ที่อกมีสีดำเรื่อ ๆ กลางกระหม่อมมีขนสีดำ 3) H.c. gabrieliae ชนิดนี้อยู่ทางใต้ของเวียดนามติดกับแดนเขมร ตัวผู้มีสีดำล้วน มีขนสีทองปนแดง บริเวณแก้มและคางมีสีขาว ตัวเมียมีสีนวล ที่หน้าอกเป็นสีดำเห็นได้ถนัด และที่หัวมีขนขึ้นเป็นสันสูงสีดำเห็นได้ชัด ชะนีแก้มขาวเกิดใหม่เป็นสีทอง เมื่ออายุ 6–8 เดือนมือเท้าและหัวเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำ หลังจากนั้นทั้งตัวผู้และตัวเมียจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีดำสนิท ส่วนแก้มมีสีขาว เมื่ออายุได้ประมาณ 6-7 ปี ตัวเมียขนจะเปลี่ยนเป็นสีทองหรือสีครีม โดยพวก H.c. leucogenys จะมีสีดำที่หน้าอก ส่วนพวก H.c. gabrieliae ทั้งหน้าอกจะมีสีดำและมีสันขนบนหัว ชะนีแก้มขาวเวลายืนไม่งอเข่าเหมือนชะนีชนิดอื่น ตัวผู้มีกล่องเสียง ทำให้ร้องเป็นช่วง ๆ ติดกันได้นาน ตัวเมียไม่มีกล่องเสียง การร้องจึงมีเสียงผิดกัน เครื่องเพศของทั้งตัวผู้และตัวเมียมีกระดูกอ่อนเสริมอยู่ทำให้ดูเพศยากเมื่อยังเล็กอยู่ หรือเมื่อขนทั่วตัวยังดำอยู่ยังไม่เปลี่ยนสี ให้สังเกตจากอัณฑะ ถ้าตัวใดมีแสดงว่าเป็นตัวผู้ ถิ่นอาศัย, อาหาร ชะนีแก้มขาวพบในประเทศลาว อินโดจีน ไหหลำ สำหรับประเทศไทยพบที่จังหวัดเลย อำเภอเชียงคาน เป็นชะนีที่หายาก กินผลไม้ ยอดไม้ ไข่นก และแมลงต่างๆ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบห้อยโหนไปตามกิ่งไม้ ไม่วิ่งไต่ไปบนต้นไม้ ใช้ชีวิตเกือบทั้งวันอยู่บนต้นไม้สูง เวลากินน้ำใช้หลังนิ้วแตะน้ำแล้วยกดูด บางทีใช้ลิ้นเลียตามแอ่งน้ำเล็ก ๆ ชอบร้องและผึ่งแดดเวลาเช้าตรู่บนกิ่งไม้ เวลากลางวันหรือตอนบ่ายที่อากาศร้อนจัด ชะนีจะลงมาจากยอดไม้สูงเพื่อหลบแสงแดด เวลาตกใจจะเหวี่ยงตัวโหนไปตามกิ่งไม้อย่างรวดเร็ว และไปหลบอยู่ตามพุ่มไม้หนาๆ เหยี่ยวและงูเหลือมเป็นศัตรูสำคัญของชะนี เมื่อมีอายุ 7-8 ปีจึงจะผสมพันธุ์ได้ ตั้งท้องนานประมาณ 240 วัน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกชะนีหย่านมเมื่ออายุ 4-7 เดือน และจะอยู่กับแม่จนอายุประมาณ 2 ปี จึงแยกไปหากินเอง ชะนีอายุยืนถึง 30 ปี สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

ภาพจากการค้นหา www.google.com

เว็บแคม
พระเครื่อง
สปา
ท่องเที่ยว
คลิปวีดีโอ
อาหารไทย


*** สมัครสมาชิกรับข่าวสารการท่องเที่ยว เก็บอัลบั้มรูปฟรี คลิกที่นี่ *** *** สนใจลงโฆษณากับหมูหิน.คอมคลิกที่นี่ ***
Chiangmai Thailand Luangprabang Lao Malaysian Maldive Pai Thailand Pattaya Thailand phnompenh cambodia Phuket Thailand Seoul Korea Vientiane Laos

_uacct = "UA-1175149-2";
urchinTracker();

:: ค่างห้าสี

ค่างห้าสี
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Douc Langur
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pygathrix nemaeus
ลักษณะทั่วไป ค่างห้าสีเป็นค่างที่มีสีสะดุดตามาก จัดเป็นค่างที่สวยงามที่สุดในโลก ตามตัวมีสีตัดกันถึง 5 สี ตัวและหัวมีสีเทา แต่ตรงหน้าผากมีสีเทาดำออกแดง หนวดเคราสีขาว หางและก้นสีขาว ผิวหน้าเหลือง ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมียราวสองเท่า และมีขนเป็นพู่ที่เอวทั้งสองข้าง ซึ่งตัวเมียไม่มี ชอบนอนเป็นส่วนใหญ่หลังจากกินอาหารแล้ว เลี้ยงยาก ลูกเป็นสีทองเหมือนค่างทั่วไป ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในประเทศลาว เวียดนามเหนือ กินใบไม้ ยอดไม้เหมือนค่างทั่วไป พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ค่างห้าสีนิสัยเงียบขรึม ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ค่างห้าสีมีการสืบพันธุ์ไม่แน่นอน ตั้งท้องประมาณ 196 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

ค่างแว่นถิ่นใต้

ค่างแว่นถิ่นใต้
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Dusky Langur(Spectacled Langur)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Presbytis obscura
ลักษณะทั่วไป ค่างแว่นมีสีเปลี่ยนแปลงได้มาก ตามรายงานกล่าวว่ามีถึง 4 ชนิด หรือ 4 เหล่า ซึ่งแต่ละชนิดหรือแต่ละเหล่ามีสีแก่อ่อนไม่เหมือนกันทีเดียวนัก แต่อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปค่างแว่นสีตามตัวเป็นสีเทา มือ เท้าดำ หน้าสีเทาเข้มหรือเทาดำ ขนบนตรงกลางหัวมีสีอ่อนกว่าส่วนอื่น ซึ่งดูคล้ายเป็นสีเงิน ริมฝีปากทั้งบนและล่างด่าง มีวงขาวรอบตา แต่บางตัววงขาวอาจไม่รอบตาก็ได้ ลูกค่างแว่นเกิดใหม่สีเหลืองส้มสดใส และสีนี้จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเทาเมื่ออายุประมาณ 3 เดือน ถิ่นอาศัย, อาหาร ค่างแว่นถิ่นใต้หรือเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า “ค่างแว่น” พบในพม่า ไทย มาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบทางภาคใต้ ค่างแว่นชอบกินใบไม้มากกว่าผลไม้ และกินแมลงด้วย พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ค่างแว่นพบอยู่ตามป่าทั่วไป จากป่าสูงบนภูเขาจนถึงป่าตามชายทะเล ค่างแว่นเป็นสัตว์ไม่ชอบให้คนพบเห็น มักวิ่งหนีไปตามต้นไม้เมื่อเห็นคน และมักไปแอบอยู่หลังต้นไม้เพื่อแอบดูผู้บุกรุก ค่างแว่นผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 3–4 ปี ไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน ระยะเป็นสัดประมาณ 3 สัปดาห์ และระยะตั้งท้องประมาณ 140–150 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม

ค่างเทา (ค่างหงอก)

ค่างเทา(ค่างหงอก)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Silvered Langur
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Presbytis cristatus
ลักษณะทั่วไป ขนส่วนด้านหลังของลำตัวมีสีเข้มเป็นสีเทาดำ แต่ปลายขนสีขาวจึงทำให้มองดูคล้ายสีเทาเหลือบเงิน ส่วนด้านหน้าของลำตัวคืออก ท้องและขาขนมีสีเทาอ่อน ที่หัวมีขนแหลมตรงกลางพุ่งขึ้น ขนด้านข้างของหน้ายาวพุ่งตรงออกด้านข้าง ใบหน้าและมือเท้าสีเทาดำ ไม่มีวงตาขาว ปากบาง ผิวหนังบางส่วนเช่นโคนขาด้านในด่างขาว ลูกค่างเกิดใหม่จะมีขนสีขาวที่หลังมือ,เท้า และตามร่างกาย น้ำหนักตัวประมาณ 6.8 กิโลกรัม ความยาวลำตัวประมาณ 493-570 มิลลิเมตร หางยาว 725-840 มิลลิเมตร ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในพม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ประเทศไทยมีตามป่าดงดิบทุกภาค อาหารได้แก่ ใบไม้และตาอ่อนของพืช แมลง พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ อาศัยในป่าทึบและป่าดงดิบทั่วไป ชอบอาศัยอยู่บนต้นไม้สูงๆ อาศัยอยู่เป็นฝูง ๆ ละ 10-40 ตัว ค่างเทาที่อายุมากแล้วมักแยกตัวไปอยู่โดดเดี่ยว ไม่รวมฝูงอยู่ด้วยกัน หากินตอนกลางวัน ส่วนใหญ่หากินบนต้นไม้ มีการใช้เสียงแตกต่างกันหลายระดับในการสื่อความหมาย แม้ว่าค่างเป็นสัตว์สังคมแต่ในฝูงจะมีการจัดลำดับชั้นทางสังคมกันน้อยมาก ค่างเทาเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 3-4 ปี ระยะตั้ง ท้องนาน 196 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

:: ค่างดำ

ค่างดำ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Banded Langur
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Presbytis melalophos
ลักษณะทั่วไป ค่างดำมีสีเปลี่ยนแปลงได้มาก มีตั้งแต่สีดำจนถึงสีน้ำตาลไหม้จนถึงสีเทาอ่อน และสีน้ำตาลอ่อน และบางครั้งอาจพบค่างดำมีสีออกขาวด้วยก็ได้ สีด้านล่างปกติอ่อนกว่าสีด้านบนเล็กน้อย บางตัวอาจมีสีออกขาวที่หน้าอก ด้านในของขามีสีขาวเห็นเด่นชัด จากโคนขาด้านในขาวมาถึงเข่า และบางตัวอาจขาวเลยมาถึงข้อเท้า ด้านล่างของหางสีอ่อนกว่าด้านบน ริมฝีปากบนและล่างมีขอบขาว แต่วงแหวนขาวรอบตาเห็นไม่เด่นชัดเหมือนอย่างค่างแว่น มีขนแหลมยาวเป็นสันบนหัว และตั้งขึ้นจนดูคล้ายจุก ลูกเกิดใหม่มีสีเข้มที่แนวสันหลังและที่ไหล่ ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในพม่า ไทย มาเลเซีย สุมาตรา และ บอร์เนียว สำหรับประเทศไทยพบตามแนวเทือกเขาตะนาวศรีและทางภาคใต้ เคยพบมากที่จังหวัดตรัง กระบี่ พังงา และสุราษฎร์ธานี ชอบกินใบไม้ ผลไม้ และแมลง พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ พบตามป่าทั่วไป หรือป่าชายฝั่งทะเล และป่าชายฝั่งที่เป็นที่ลุ่มต่ำ อยู่ตามสวนยางและชอบออกมากินข้าวตามทุ่งนาใกล้ ๆ สวน ค่างดำชอบอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ 5 - 6 ตัว นาน ๆ ถึงจะพบค่างดำอยู่ตัวเดียว ไม่มีรายงานเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของค่างดำ เข้าใจว่าคงเหมือนค่างชนิดอื่น ๆ ทั่วไป สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

เก้งหม้อ (เก้งดำ หรือ เก้งดง)

เก้งหม้อ(เก้งดำ หรือ เก้งดง)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Fea's Muntjac(Fea's Barking Deer)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Muntiacus feae
ลักษณะทั่วไป เป็นกวางขนาดเล็ก ใหญ่กว่าเก้งเล็กน้อย ลำตัวยาว 88-100 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 22 กิโลกรัม ลำตัวซีกบนสีน้ำตาลแก่ ซีกล่างสีน้ำตาลปนขาว หางสั้นซีกบนเป็นสีดำเข็ม ซีกล่างของหางสีขาวตัดกันสะดุดตา มีเขาเฉพาะในตัวผู้ เขามีข้างละ 2 กิ่ง แต่ไม่สวยงามเท่าเก้ง ต่อมน้ำตาใหญ่มาก มีแอ่งน้ำตาใหญ่ ผลัดเขาทุกปี ยกเว้นตัวผู้ที่แก่มากๆ เขาอาจอยู่ได้นานถึงสองปีกว่า ถิ่นอาศัย, อาหาร พบทางภาคใต้ของประเทศไทย เทือกเขาตะนาวศรี และตามแนวชายแดนที่ติดต่อกับประเทศพม่า อาหารที่กินได้แก่ ใบไม้ ใบหญ้า ผลไม้บางชนิด หน่ออ่อนของต้นไม้ โดยเฉพาะหญ้าระบัดจะชอบมาก พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบสูงๆ ที่เป็นป่าดงดิบไม่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ชอบอยู่กลุ่มละ 2 - 3 ตัว แต่โดยปกติแล้วชอบอยู่ลำพังตัวเดียว ออกหากินตอนเช้าตรู่ พลบค่ำและตอนกลางคืน โดยจะออกมาหากินตามทุ่งโล่ง ชายป่า ท้องนา แถวที่มีลูกไม้ป่า ชอบกินดินโป่ง เก้งหม้อมีระยะตั้งท้องนานประมาณ 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์สงขลา


สัตว์สงวน

:: เก้งเผือก

เก้งเผือก
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Albino Common Barking Deer
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Muntiacus muntjak
ลักษณะทั่วไป เหมือนเก้งธรรมดาแต่มีสีขาวปลอดทั้งตัว ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในอินโดจีน อินโดนีเซีย จีนตอนใต้ ศรีลังกา อินเดีย สำหรับในประเทศไทยพบทุกภาค เก้งเผือกกินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ปกติชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียว หากินตอนเย็นถึงเช้าตรู่ กลางวันหลบนอนตามพุ่มไม้ ปราดเปรียว เวลาตกใจจะส่งเสียงร้องคล้ายเสียงสุนัขเห่า เก้งเผือกเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 1 ปีครึ่ง ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูหนาว ตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว อายุยืนราว 15 ปี สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต

เก้ง (อีเก้ง หรือ ฟาน)

เก้ง(อีเก้ง หรือ ฟาน)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Barking Deer (Common Barking Deer)(Red Muntjak)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Muntiacus muntjak
ลักษณะทั่วไป เป็นกวางขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1 เมตร สูงประมาณ 50 เซนติเมตร น้ำหนัก 14-18 กิโลกรัม ตัวผู้มีเขาสั้น ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร และมีแขนงเล็ก ๆ แตกออกข้างละสองกิ่ง ตัวเมียไม่มีเขา ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดง มีต่อมน้ำตาขนาดใหญ่และแอ่งน้ำตาลึก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวยื่นออกมานอกริมฝีปาก ใช้สำหรับป้องกันตัว ลูกเก้งมีจุดสีขาวตามตัว และจะค่อยจางหายไปเมื่อมีอายุได้ราว 6 เดือน ถิ่นอาศัย, อาหาร ศรีลังกา อินเดียภาคใต้ จีนตอนใต้ พม่า มาเลเซีย อินโดจีน สุมาตรา ชวา บอร์เนียว หมู่เกาะซุนดา และทุกภาคของประเทศไทย เก้งกินใบไม้อ่อน หน่อไม้อ่อน มะขามป้อม และมะม่วงป่า พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ มักชอบอาศัยอยู่ตามลำพังตัวเดียวตามพงหญ้าและป่าทั่วไป เว้นแต่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะอยู่เป็นคู่ เป็นสัตว์ออกหากินตอนเย็นและเช้าตรู่ กลางวันหลับนอนตามพุ่มไม้ เมื่อตกใจจะส่งเสียงร้อง "เอิ๊บ-เอิ๊บ-เอิ๊บ" คล้ายเสียงสุนัขเห่า และเป็นสัตว์ที่กระหายน้ำเก่ง เก้งเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุปีครึ่ง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

กวางฟอลโลว์

กวางฟอลโลว์
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Fallow Deer
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Dama dama
ลักษณะทั่วไป เป็นกวางขนาดกลางมีกีบคู่ มีกระเพาะ 4 กระเพาะ มีเขาเฉพาะตัวผู้เขาแผ่ออกเป็นแผ่นแบนกว้าง หรือแผ่ออกเป็นรูปฝ่ามือ เมื่ออายุย่างเข้าปีที่ 2 ตัวผู้จึงจะเริ่มมีเขางอกขึ้นมาเป็นกิ่งต่าง ๆ ในปีต่อไป จึงเริ่มแตกกิ่งเพิ่มขึ้น ปีที่ 4 ปลายเขาเริ่มแตกเป็นแผ่นคล้ายเสียม หรือ พลั่วขุดดิน ปี่ที่ 6 - 7 เขาจะแตกแผ่เป็นแผ่นอย่างเต็มที่ จะผลัดเขาในฤดูใบไม้ผลิ ขนสีเทาแกมเหลืองสดในหน้าร้อน มีจุดขาวขนาดใหญ่อยู่กลางหลังและข้างลำตัว มีแถบสีดำทอดยาวจากกลางหลังไปถึงสะโพก ช่วงล่างลำตัวสีขาว ขนเรียบบางและแนบติดกับลำตัว หน้าหนาวขนจะมีสีน้ำตาลเทา จุดขาวตามลำตัวจะเลือนไปเห็นไม่ชัด และมีขนหยาบกร้านหนากว่าหน้าร้อน ถิ่นอาศัย, อาหาร เป็นสัตว์ดั้งเดิมของประเทศต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ ยุโรปใต้ เอเชียไมเนอร์ และปาเลสไตน์เหนือ ต่อมาได้มีการนำไปเลี้ยงในอังกฤษและอีกหลายประเทศ จัดว่าเป็นสัตว์กึ่งสัตว์บ้าน ที่พบว่าดำรงชีพแบบสัตว์ป่าแท้ๆ มีน้อยมาก ส่วนใหญ่พบได้ตามสวนสัตว์เท่านั้น ในอนาคตจะเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ หญ้าเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้ก็กินใบไม้ หน่อพืชอ่อน ๆ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ เป็นสัตว์ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง หน้าร้อนตัวผู้ที่โตเต็มที่จะแยกตัวออกไป ทิ้งให้ตัวเมียและตัวผู้อายุน้อยอยู่รวมกันในฝูง เป็นสัตว์ที่ตาไวมาก หู จมูกก็เฉียบไว ตื่นตัวอยู่เสมอ เมื่อนำมาเลี้ยงจะเชื่อง ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะเข้ามาติดพันตัวเมียและมีการต่อสู้กันระหว่างตัวผู้ ลูกออกมา 2 - 3 สัปดาห์แรกจะหลบซ่อนตัวในพงหญ้าที่รกทึบ หลังจากนั้นจะวิ่งตามตัวอื่นในฝูง กวางฟอลโลว์จะเริ่มผสมพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 18 เดือน ตัวเมียที่ตั้งท้องจะแยกตัวออกห่างจากฝูงและจะตั้งท้องอยู่นาน 230 วัน สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

กวางป่า

กวางป่า(กวางม้า)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Sambar Deer
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Cervus unicolor
ลักษณะทั่วไป เป็นกวางขนาดใหญ่ ขนยาวหยาบมีสีน้ำตาลเข้ม ขนบริเวณคอจะยาวขึ้นหนาแน่นกว่าที่อื่นๆ ลูกกวางป่าเกิดใหม่จะไม่มีจุดขาว ๆ ตามตัวเช่น ในลูกเนื้อทรายหรือกวางดาว หางค่อนข้างสั้น มีเขาเฉพาะตัวผู้ เขามีข้างละ 3 กิ่ง เขาที่ขึ้นครั้งแรกมีกิ่งเดียว เมื่อเขาแรกหลุดเขาที่ขึ้นใหม่ มี 2 กิ่ง เมื่อเขา 2 กิ่งหลุด เขาที่ขึ้นใหม่มี 3 กิ่ง ปีต่อไปเมื่อผลัดเขาใหม่จะมีเพียง 3 กิ่งเท่านั้น ไม่เพิ่มมากกว่านี้ ผลัดเขาทุกปีในช่วงเดือนมีนาคม หรือ เดือนเมษายน เขาแก่ในเดือนพฤศจิกายน มีแอ่งน้ำตาที่หัวตาทั้ง 2 ข้าง ขนาดใหญ่มากยื่นออกมาให้เห็นชัดเจน ยิ่งในฤดูผสมพันธุ์แอ่งน้ำตานี้จะยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นอีกและขับสารที่มีกลิ่นแรงมากออกมาซึ่งเป็นประโยชน์ในการดมกลิ่นตามหากัน เป็นสัตว์ที่มีหู ตา จมูกไวมาก ถิ่นอาศัย, อาหาร พบตั้งแต่ศรีลังกา อินเดีย เนปาล พม่า ไทย อินโดจีน จีนตอนใต้ มาเลเซีย สุมาตรา ชวา บอร์เนียว เซลีเบส ไต้หวัน ไหหลำ ฟิลิปปินส์ อัสสัม สำหรับประเทศไทย พบตามป่าดงดิบทั่วไปทุกภาคทั้งป่าสูงและป่าต่ำ ชอบกินใบไม้ และยอดอ่อนของพืชมากกว่าหญ้า อาหารในธรรมชาติของกวางได้แก่ เถาวัลย์อ่อน ๆ ยอดอ่อนของไม้พุ่มเตี้ย ๆ ใบไม้ใบหญ้าที่เพิ่งผลิใบ ใบไผ่ และชอบกินดินโป่งมาก พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ปกติชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียว นอกจากฤดูผสมพันธุ์ ออกหากินตั้งแต่ตอนเย็นถึงเช้าตรู่ ส่วนกลางวันจะนอนในที่รกทึบ ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทั่วไปรวมทั้งป่าทึบ ชอบออกมาหากินอยู่ตามริมทาง ลำธาร และทุ่งโล่ง ชอบนอนแช่ปลักโคลนเหมือนกระบือเพื่อป้องกันแมลง ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะดุร้ายและหวงตัวเมียมาก ช่วงนี้ตัวผู้จะต่อสู้กันอย่างดุร้ายเพื่อแย่งตัวเมีย ว่ายน้ำเก่งและปราดเปรียว มันไม่ชอบช้างและกลิ่นของช้าง ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ตั้งท้องนานประมาณ 8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัวในช่วงต้นฤดูฝน ลูกกวางจะเริ่มแยกจากแม่ไปหากินตามลำพังเมื่ออายุราว 1 ปีหรือ 1 ปีกว่า และโตกวางป่าพร้อมผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 18 เดือน อายุยืนประมาณ 15-20 ปี สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

กระทิง

กระทิง
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Guar
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Bos gaurus
ลักษณะทั่วไป กระทิงมีรูปร่างคล้ายวัว ขนสั้นเกรียนเป็นมันสีดำหรือแกมน้ำตาล ขาสีขาวนวลคล้ายสวมถุงเท้า บริเวณหน้าผากมีหน้าโพธิ์สีเทาปนขาวหรือปนเหลือง สันกลางหลังสูง มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขาโค้ง โคนเขามีสีเหลือง ปลายเขาสีดำ ใต้ผิวหนังมีต่อมน้ำมันซึ่งน้ำมันมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในทวีปเอเชียแถบประเทศอินเดีย พม่า อินโดจีน มาเลเซียและไทย ในป่าเมืองไทยสามารถจำแนกได้ 2 สายพันธุ์ย่อย คือ Bos gaurus readei เป็นสายพันธุ์ที่พบทางป่าภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและอีสาน อีกสายพันธุ์หนึ่งคือ Bos gaurus hubbachi พบทางภาคใต้และเทือกเขาตะนาวศรี กระทิงชอบกินดินโป่ง หญ้า หน่อไม้ ใบไม้อ่อน และผลไม้ป่าบางชนิดเป็นอาหาร พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบที่อยู่ห่างไกล ทั้งป่าทุ่งหญ้าและป่าภูเขา ตามปกติไม่ดุร้ายเว้นแต่ถูกทำร้ายหรืออยู่ในระหว่างฤดูผสมพันธุ์ ส่วนใหญ่มักอยู่รวมกันเป็นฝูงและไม่ชอบนอนแช่ปลักเหมือนควาย กระทิงสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ส่วนใหญ่จะผสมพันธุ์ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ตัวเมียตั้งท้องนาน 9 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว และมีอายุยืน 25-30 ปี สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

กระต่ายบ้าน

กระต่ายบ้าน
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
European Rabbit
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Oryctolagus cuniculus
ลักษณะทั่วไป กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ฟันหน้ามีอยู่ 4 ซี่เรียงซ้อนกันเป็น 2 คู่ โดยคู่หลังจะเล็กกว่าคู่หน้า ขาหน้ามี 5 นิ้ว แต่ขาหลังมีเพียง 4 นิ้ว ใต้อุ้งเท้ามีขนยาว และภายในกระพุ้งแก้มมีขนด้วย สำหรับกระต่ายบ้านนั้นมีเท้าสั้น ขนสั้น ลูกกระต่ายบ้านที่คลอดออกมาใหม่ ๆ ตัวแดงและไม่มีขนตาปิด ซึ่งแตกต่างจากกระต่ายป่า ถิ่นอาศัย, อาหาร พบที่ทวีปยุโรป แอฟริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ กระต่ายกินผัก หญ้า และเปลือกไม้เป็นอาหาร พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ กระต่ายบ้านสามารถผสมพันธุ์ได้บ่อย ตัวเมียตั้งท้องเพียง 1 เดือน ปีหนึ่งจึงสามารถออกลูกได้ 4-8 ครอก ลูกกระต่ายที่มีอายุราว 6-8 สัปดาห์จะแยกจากแม่ได้และมีอายุยืนราว 7-8 ปี สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา

:: กระจงเล็ก

กระจงเล็ก
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Lesser Malay Chevrotain(Lesser Mouse Deer)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Tragulus javanicus
ลักษณะทั่วไป เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกีบคู่ขนาดเล็ก ถือว่าเป็นสัตว์กีบคู่ที่มีขนาดเล็กที่สุด รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ลำตัวยาวประมาณ 40-48 เซนติเมตร สูง 20-25 เซนติเมตร น้ำหนัก 1.5-2.5 กิโลกรัม กระจงเล็กมีขนสีน้ำตาลแกมแดง มีแถบสีขาวใต้คอ 3 เส้น ถิ่นอาศัย, อาหาร พบแถบเทือกเขาตะนาวศรี อินโดจีน มลายา สุมาตรา ชวา บอร์เนียว และเกาะข้างเคียงอีกหลายเกาะและในประเทศไทย ใบไม้ หญ้า ผลไม้ป่าที่ร่วงหล่นตามพื้นดิน ยอดอ่อนของไม้พุ่มเตี้ย หญ้าอ่อนที่ผลิขึ้นใหม่กระจงชอบกินมาก พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบออกหากินตอนกลางคืน ตั้งแต่พลบค่ำจนถึงเช้าตรู่ กลางวันนอนพักผ่อนตามซอกหิน หรือโพรงไม้ หรือใต้พุ่มไม้ทึบ ตื่นตกใจง่าย ปกติชอบอยู่ลำพังตัวเดียว ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ จะอยู่เป็นคู่ ชอบออกมาหากินตามทุ่งหญ้าหรือชายป่า อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบมากกว่าป่าโปร่ง และเป็นป่าต่ำด้วย ร้องเสียง “จี๊ด ๆ” คล้ายหนู ปราดเปรียวว่องไวมาก และว่ายน้ำเก่ง ฤดูผสมพันธุ์ตกอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ตั้งท้องนานประมาณ 140 วัน ปกติออกลูกครั้งละ 1 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์สงขลา

กระจงควาย

กระจงควาย
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Greater Mouse Deer
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Tragulus napu
ลักษณะทั่วไป จัดเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกีบคู่ขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายกวาง แต่ทั้งตัวผู้และตัวเมียไม่มีเขา กระจงตัวผู้จะมีเขี้ยวบนยาวเลยริมฝีปากบนลงมา เมื่อโตเต็มวัย สูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 3.6-6.0 กิโลกรัม ขนบนตัวสีน้ำตาลออกเทาและมีจุดสีเข้มกว่ากระจายอยู่ทั่วไป ที่ใต้คอและบนหน้าอกมีแถบสีขาวพาดตามยาว 5 เส้น ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในพม่า อินโดจีน ไทย แหลมมลายู สุมาตรา และบอร์เนียว ชอบกินหญ้าอ่อน ผลไม้ป่า ยอดไม้ และใบไม้อ่อน พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ปกติชอบอยู่โดดเดี่ยว นอกจากในฤดูผสมพันธุ์จึงจะอยู่เป็นคู่ เป็นสัตว์ออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนในเวลากลางวันจะหลบพักนอนตามหลืบหิน และโพรงไม้ ฤดูผสมพันธุ์ตกอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม โตเต็มวัยพร้อมจะผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 4-5 เดือน ระยะตั้งท้องนาน 5-6 เดือน หรือ 152-172 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์สงขลา