วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551

ชะนีมือขาว (ชะนีธรรมดา)

ชะนีมือขาว (ชะนีธรรมดา)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Lar Gibbon(White-handed Gibbon)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Hylobates lar
ลักษณะทั่วไป ชะนีมือขาวมีทั้งสีดำและสีขาว ส่วนหลังมือและหลังเท้าเป็นสีขาวและมีวงขาวรอบใบหน้า ใบหน้าและหูดำ มือยาว รูปร่างเพรียว ไม่มีหาง บางคนเรียกว่า “ชะนีปักษ์ใต้” ซึ่งความจริงแล้วก็คือชะนีมือขาวนั่นเอง ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในพม่าแถบเทือกเขาตะนาวศรี ไทย ลาวและทางด้านตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำโขงในลาว ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนาน มาเลเซีย และทางด้านทิศเหนือของเกาะสุมาตราสำหรับประเทศไทยพบได้ทั่วไปยกเว้นจังหวัดจันทบุรี กินผลไม้ ยอดไม้ ไข่นก และแมลงต่าง ๆ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบห้อยโหนไปตามกิ่งไม้ ใช้ชีวิตเกือบทั้งวันอยู่บนต้นไม้สูง เวลากินน้ำใช้หลังนิ้วแตะน้ำและยกดูด ชอบร้องและผึ่งแดดเวลาเช้าตรู่บนกิ่งไม้ เวลาอากาศร้อนจัดจะลงมาจากต้นไม้สูงเพื่อหลบแดด เวลาตกใจจะเหวี่ยงตัวโหนไปตามกิ่งไม้อย่างรวดเร็ว เหยี่ยวและงูเหลือมเป็นศัตรูสำคัญของชะนี ชะนีผสมพันธุ์ตอนอายุ 7-8 ปี ตั้งท้องประมาณ 8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกชะนีจะหย่านมเมื่ออายุ 4-7 เดือน จนอายุ 2 ปีจะแยกไปหากินเอง ชะนีอาจมีอายุยืนถึง 30 ปี สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

ไม่มีความคิดเห็น: