วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551

เหล้าสาเกญี่ปุ่น



Translation Thai - SlovakWelcome!
The multilanguage dictionary that performs translation between 34 languages. We have ambitious aims to build one of the largest and comprehensive dictionaries on the web. It is still under intensive development. We adding new features and improving existing algorithm. If you need any new feature, please don’t hesitate, let us now what you need and help us to improve this dictionary even better.
Below you can check possible translations. Select from menu your source language and application will show you all possible translations for that language.

แมวดาว

แมวดาว
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Leopard Cat
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Prionailurus bengalensis
ลักษณะทั่วไป รูปร่างคล้ายแมวขนาดใหญ่ มีสีน้ำตาลแกมเหลือง หูค่อนข้างยาว หลังหูสีดำมีจุดขาวตรงกลาง ตามตัวมีจุดสีน้ำตาลแกมดำเป็นจุดใหญ่อยู่ทั่วไป ถิ่นอาศัย, อาหาร มีถิ่นอาศัยอยู่ในสหภาพโซเวียต จีน ไต้หวัน อินโดจีน อินเดีย บังคลาเทศ พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเกาะพาลาวัน ในประเทศไทยพบอยู่ตามป่าทั่วทุกภาค แมวดาวกินนก หนู กระรอก กระแต จิ้งเหลน กิ้งก่า เป็ด ไก่ รวมทั้งงูด้วย พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ หากินเวลากลางคืนทั้งบนดินและต้นไม้ ชอบนอนในโพรง บางครั้งกระโจนจากต้นไม้เพื่อจับสัตว์กิน เป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำเก่ง แมวดาวเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 70 วัน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์

เมียร์แคท

เมียร์แคท
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Slender-tailed Meerkat(Suricate)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Suricata suricata
ลักษณะทั่วไป เมียร์แคทหนึ่งในสมาชิกสัตว์ป่าของทวีปแอฟริกา มีลักษณะ หัวสั้น หน้ากว้าง จะมีจมูกยื่นยาวเพื่อประโยชน์ในการดมกลิ่น รอบขอบตาเป็นวงแหวนสีดำ มีนิ้วเท้าสี่นิ้ว มีขนสีน้ำตาลทองสลับดำขวางลำตัว หางยาวและส่วนปลายมีสีดำ เป็นสัตว์ในตระกูลเดียวกับพังพอน และชะมด ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในประเทศแอฟริกาใต้ เมียร์แคทกินแมลงปีกแข็งและ หนอนผีเสื้อ รวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังเล็กๆ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ไม่ชอบอยู่กับที่ ชอบยืนชะเง้อคอ เพื่อตรวจดูและดมกลิ่นในบริเวณรอบๆ จะออกมารับแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาเช้าเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น จะอาศัยรวมอยู่กันเป็นกลุ่ม บางกลุ่มอาจมีถึง 30 ตัว บางครั้งอาจพบอาศัยอยู่กับพวกกระรอกและเมียร์แคทแดง สัตว์ชนิดนี้จะมีประสาทสัมผัส ที่ดี โดยเฉพาะเรื่องการรับฟังเสียงจะสามารถได้ยินเสียงในรัศมีถึง 160 ฟุต (50เมตร) และจะอพยพย้ายที่อยู่เมื่อมีภัย นอกจากนี้เมียร์แคทจะขุดรูหรือโพรงถ้ำลึกลงไปในดิน โพรงดินที่สร้างขึ้นสามารถเชื่อมต่อกัน ทำให้มีช่องทางเข้าออกมากขึ้นและช่วยให้มันมีทางหลบหนีเมื่อมีภัยอีกด้วย เมียร์แคทจะขยายพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 1 ปี จะออกลูกตามโพรง, ถ้ำ ช่วงฤดูผสมพันธุ์คือเดือน ตุลาคม-มีนาคม ระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 11 สัปดาห์ ออกลูกครั้งละ 2-5 ตัว สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์สงขลา

:: เม่นใหญ่แผงคอยาว

เม่นใหญ่แผงคอยาว
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Malayan Porcupine
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Hystrix brachyura
ลักษณะทั่วไป มีลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่าเม่นชนิดอื่น มีขนบนสันคอเป็นเส้นอ่อน ๆ ตั้งขึ้นดูคล้ายกับแผงคอ ขนตามลำตัวท่อนหน้ามีสีน้ำตาลไหม้เป็นขนค่อนข้างสั้น ส่วนขนตามลำตัวท่อนหลังเป็นขนยาวมีสีขาวและมีวงรอบขนสีดำอยู่กลางขน ถิ่นอาศัย, อาหาร พบใน ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ สุมาตรา บอร์เนียว พบในป่าทุกชนิด อาศัยตามโพรงดิน ซอกหินตามป่า เม่นใหญ่แผงคอยาวกินผัก หญ้า เผือก มัน หน่อไม้ เปลือกไม้บางชนิด ผลไม้ กระดูกสัตว์ และเขาสัตว์ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ สามารถปรับตัวให้อาศัยในหลากหลายสภาพแวดล้อม หากินเวลากลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบอยู่ในโพรงดิน เมื่อพบศัตรูจะแสดงอาการขู่ โดยกระทืบเท้า ตั้งขนขึ้นและสั่นหางทำให้เกิดเสียงดัง เม่นไม่สามารถสลัดขนไล่ศัตรูได้ แต่ขนเม่นหลุดง่าย เมื่อศัตรูถูกขนเม่นตำ ขนจึงหลุดติดไปกับศัตรู เม่นใหญ่แผงคอยาวเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 4 เดือน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา

:: เม่นหางพวง

เม่นหางพวง
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Brush-tailed Porcupine
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Atherurus macrourus
ลักษณะทั่วไป เป็นสัตว์ฟันแทะเช่นเดียวกับเม่นชนิดอื่น แต่ตัวเล็กกว่า ขนบริเวณหลังยาวมากและจะค่อย ๆ สั้นลง ส่วนท้ายของลำตัวขนมีลักษณะแบน และเป็นร่องยาวอยู่ทางด้านบน เม่นหางพวงไม่มีขนตลอดทั่วทั้งหาง แต่ที่โคนหางจะมีขนสั้น ช่วงกลางหางมีเป็นเกล็ดๆ และที่ปลายหางมีขนขึ้นหนาเป็นกระจุกดูคล้ายเป็นพวง ขนดังที่กล่าวมานี้จะแบนคล้ายกระดาษและแหลมแข็ง แต่ขนที่หัว ขาทั้งสี่และบริเวณใต้ท้องเป็นขนแหลมแต่ไม่แข็ง ขาสั้น หูกลมเล็ก เท้ามีเล็บตรงทู่แข็งแรง เหมาะสำหรับขุดคุ้ยดิน ถิ่นอาศัย, อาหาร เม่นหางพวง พบในประเทศจีนทางตอนใต้ เกาะไหหลำ อัสสัม พม่า ไทย อินโดจีน มาเลเซียและสุมาตรา สำหรับประเทศไทยพบทั่วไป แต่มีมากที่จังหวัดตรัง กินผัก หญ้า เผือก มัน หน่อไม้ ผลไม้ รากไม้บางชนิด กระดูกสัตว์ แมลง และเขาสัตว์ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ เม่นหางพวงพบตามป่าทั่วไป ชอบอาศัยอยู่ตามป่าใกล้น้ำ ลำธาร ลำห้วย ชอบ ขุดดินเป็นรูและเป็นโพรงชอนไปใต้ดินลึก ๆเป็นโพรงกว้าง 3–4 ฟุต ซึ่งพอสำหรับครอบครัว คือ พ่อ แม่ ลูก อยู่ได้อย่างสบาย บางครั้งขุดรูอยู่ใกล้ริมตลิ่ง ชอบออกหากินในเวลากลางคืนและไปด้วยกันหลายตัว ส่วนกลางวันมักนอนหลบซ่อนตัวในโพรงดิน หรือหลบซ่อนตัวตามรากโคนต้นไม้ใหญ่ หรือซอกหิน เม่นหางพวงวิ่งได้เร็วพอใช้ ขณะวิ่งชอบสบัดหางให้สั่นเพื่อให้เกิดเสียงขณะวิ่ง เพราะขนกระทบกันเอง เป็นการทำให้สัตว์อื่นตกใจกลัว เมื่อมีอายุ 2 ปีเม่นหางพวงจึงผสมพันธุ์ได้ ฤดูผสมพันธุ์ไม่แน่นอน ตั้งท้องนาน 4 เดือน ออกลูกครั้งละ 1–4 ตัว อายุยืนนาน 10 ปีเศษ สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

:: ม้าลาย

ม้าลาย
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Common Zebra(Burchell's Zebra)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Equus burchellii
ลักษณะทั่วไป พบทั่วไปในทวีปแอฟริกาแถบที่ราบโล่งทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า ถิ่นอาศัย, อาหาร พบทั่วไปในทวีปแอฟริกาแถบที่ราบโล่งทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า กินหญ้าและเมล็ดพืช พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอาศัยอยู่ตามที่ราบโล่งที่เป็นหญ้า ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ฝูงหนึ่งมีหลายร้อยตัวจนถึงเป็นพันก็มี โดยจะเล็มหญ้าหากินร่วมกับสัตว์อื่นในทุ่งกว้าง เช่น นกกระจอกเทศ ยีราฟ แอนตีโลป และสัตว์กีบชนิดอื่นๆ ม้าลายมักจะมีนกกินแมลงจับเกาะอยู่บนหลัง เพื่อช่วยระวังภัยและกินพวกแมลงที่มารบกวน และมีนกกระจอกเทศและยีราฟคอยช่วยเป็นป้อมยามคอยเตือนภัยและระวังภัยให้ เพราะม้าลายสายตาไม่ค่อยดี แต่จมูกและหูไวมาก ฟันคม ม้าลายเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 2 ปี ตั้งท้องนานประมาณ 345-390 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว มีอายุยืนประมาณ 25-30 ปี สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

:: มารา

มารา
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mara(Patagonian Cavy)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Dolichotis patagonum
ลักษณะทั่วไป มีใบหน้าและหูคล้ายกระต่าย แต่มีลำตัวคล้ายสุนัขหรือกวางขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 70 - 75 เซนติเมตร มีหางสั้นประมาณ 4 - 5 เซนติเมตร ลำตัวมีขนสีน้ำตาล ด้านท้องมีสีขาวปนน้ำตาลแดง มีขนบริเวณ ก้นสีขาว ขาคู่หลังเรียวยาวกว่าขาคู่หน้า เท้าหน้ามี4 นิ้ว เท้าหลังมี 3 นิ้ว และมีใบหูใหญ่ ถิ่นอาศัย, อาหาร พบแพร่กระจายบริเวณทุ่งหญ้าแพมพัสในตอนกลางและตอนใต้ของประเทศอาเจนตินา อาหารได้แก่หญ้า พืช เปลือกไม้ รากไม้ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ มาราตั้งท้องนาน 90 - 93 วัน น้ำหนักแรกเกิด 400 - 450 กรัม หย่านมเมื่ออายุ 2-3 เดือน วัยเจริญพันธุ์อายุ 1 - 5 ปี มีอายุยืน 10 - 15 ปี สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่