วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551

:: ชะมดแปลงลายแถบ (อีเห็นลายเมฆ)

ชะมดแปลงลายแถบ(อีเห็นลายเมฆ)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Banded Linsang
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Prionodon linsang
ลักษณะทั่วไป ลำตัวเพรียว หางยาว แต่ขาสั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อเดินไต่อยู่ตามกิ่งไม้จึงดูคล้ายงูมากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชะมดแปลงลายแถบต่างกับชะมดแปลงลายจุดตรงที่จุดบนหลังติดกันกลายเป็นแถบคดเคี้ยวขวางหลังของสัตว์ มีอยู่ทั้งหมด 5 แถบ และตามด้านข้างของคอและลำตัว จุดจะติดกัน กลายเป็นแถบคดเคี้ยวมีอยู่ด้านละ 2 แถบ สีพื้นของตัวเป็นสีน้ำตาลแกมเหลืองซีด ๆ หางมีปล้องสีขาวสลับดำอยู่ 7 ปล้อง ไม่มีขนแผงคอหรือแผงหลังและไม่มีต่อมกลิ่น อุ้งเล็บมีปลอกหุ้ม สามารถเอาเล็บออกมาใช้ได้ทันทีเหมือนกับแมวหรือเสือ ถิ่นอาศัย, อาหาร ชะมดแปลงลายแถบพบในป่าตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี ทางภาคใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย สุมาตรา ชวาและบอร์เนียว เป็นสัตว์หายาก เป็นสัตว์กิน นก หนูที่อยู่ตามต้นไม้ งู และสัตว์เล็กอื่น ๆ นอกจากนี้ยังกินแมลงที่ตัวโตๆ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชะมดแปลงลายแถบเป็นสัตว์หากินกลางคืน อาศัยอยู่ในป่าที่ค่อนข้างรกทึบ ส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ บางครั้งอาจลงมาบนพื้นดินบ้างเพื่อหาอาหาร ชะมดแปลงลายแถบผสมพันธุ์ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม มีผู้พบว่าชะมดแปลงแถบสร้างรังออกลูกด้วยเรียวไม้และใบไม้อยู่ในโพรงดินโคนต้นไม้ใหญ่ ออกลูกครั้งละ 2–3 ตัว มีอายุยืนเกือบ 10 ปี สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์นครราชสีมา

ไม่มีความคิดเห็น: